apaituberita.blogspot.com
รายงาน
จากปัญหาการขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งอีก 2 เดือนกว่าก็จะสิ้นฤดูฝน ขณะที่หลายพื้นที่ประสบภาวะขาดน้ำ 2 เดือนที่เหลือปริมาณฝนไม่น่าจะเพียงพอ คาดว่าภาวะแล้งจะยาวถึงปี 2564 หากไม่เปลี่ยนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาเรื่องน้ำ จะเกิดความเสียหายต่อเกษตรกรอย่างร้ายแรง นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ได้เสนอทางออกสำคัญคือ “ยุทธศาสตร์สงครามแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จ ระดับจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาความยากจน”
นายสังศิต กล่าวว่า เราต้องแก้ปัญหานี้แบบเบ็ดเสร็จ แก้ปัญหาให้เร็ว งบประมาณน้อยและเห็นผลทันที เราต้องมองการแก้ปัญหาน้ำเหมือนยุทธศาสตร์การทำสงครามที่มุ่งการรบแตกหักอย่างรวดเร็ว ในช่วงฤดูฝนที่เหลืออีกเพียง 2 เดือน ซึ่งปริมาณฝนอาจไม่มากพอ ถึงปีหน้าเราต้องเร่งกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้’ นายสังศิตกล่าว
“ในระหว่างวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ผมและคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ได้แก่ นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ และนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ พลโทจเรศักณิ์ อานุภาพ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ฯ นายชนศวรรตน์ ธนศุภรณ์พงษ์ อนุกรรมาธิการฯ นายภัทรพล ณ หนองคาย นายสุภัทรดิศ ราชธา ผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมกักเก็บน้ำขนาดเล็ก พร้อมคณะฯ ได้ร่วมศึกษาดูงานเพื่อให้ได้ข้อมูล รับรู้ปัญหา ในสภาพพื้นที่หลากหลายต่างกัน ที่สำคัญคือคณะเรามีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ กับส่วนราชการต่างๆ ผู้นำองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และชาวบ้านทั่วไป เราเห็นตรงกันว่า เวลา 2 เดือนที่เหลือ ต้องเร่งสร้างฝายแกนซอยซีเมนต์เพื่อชะลอ กัก และเก็บน้ำในพื้นที่เป้าหมายอย่างเร่งด่วน
นายสังศิตได้นำเสนอ ‘ยุทธศาสตร์สงครามแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จ ระดับจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาความยากจน’ ยุทธศาสตร์มีหลักการที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. สำรวจและรวบรวมแหล่งเก็บน้ำในจังหวัดทั้งหมด ดูปริมาณน้ำฝนตกในจังหวัดเฉลี่ยต่อปี เปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการใช้น้ำของทั้งจังหวัดต่อปี
2. บูรณาการ อำนาจหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด คือ ชลประทานจังหวัด กรมเจ้าท่า (ระดับภาค/จังหวัด) กรมป่าไม้ / อุทยานฯ และองค์กรปกครองท้องถิ่น
3. การสร้างฝายแกนซอยซีเมนต์เพื่อชะลอ กัก และเก็บน้ำ ต้องคำนึงถึงการสร้างให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ใช้งบน้อย ไม่ส่งกระทบบริเวณรอบๆ และเห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วทันใจเพียง 2-3 วัน ประชาชนต้องได้ใช้น้ำทันทีและสามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้ได้ตลอดปี
4. ใช้งบฉุกเฉินจังหวัดจังหวัดหรืองบสนับสนุนขององค์กรปกครองท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ การระดมทุนเพื่อพึ่งพาตนเองหรือขอรับการสนับสนุนจากโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล
‘‘เนื่องจากสถานการณ์น้ำของประเทศมีแนวโน้มที่น่ากังวลใจกล่าวคือ แหล่งเก็บกักน้ำส่วนใหญ่เก็บน้ำได้น้อย จากตัวเลขของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พบว่า มีปริมาณน้ำรวมในแหล่งน้ำเหลือเพียง 33.976 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 41% น้อยกว่าปี 62” (ก.ค. 2563)
และเรามีพื้นที่การเกษตร 149.2 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทานรวม 30.22 ล้านไร่ เพียงร้อยละ 20 ของพื้นที่การเกษตร ซึ่งได้รับการจัดสรรน้ำปีละ 65,000 ล้าน ลบ.ม. อีก 120 ล้านไร่ หรือกว่าร้อยละ 80 เป็นพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทานโดยพึ่งน้ำฝนเป็นหลัก มีความเสี่ยงต่อการขาด
แคลนน้ำ
“เพื่อสู้รบแก้ปัญหาน้ำแล้ง เราจะต้องใช้ยุทธศาสตร์การทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จที่เน้นความเร็วเพื่อเร่งสร้างฝายแกนซอยซีเมนต์ให้มากที่สุดในระยะฝนที่เหลืออีกสองเดือนข้างหน้า ที่ผ่านมาเรามีเวลามากพอที่จะศึกษาและเรียนรู้ทฤษฎีและประสบการณ์การบรรยายจัดการน้ำ จนกระทั่งตกผลึกทางความคิดเรื่องการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก ตัวอย่างเช่น การสร้างฝายแกนซอยซีเมนต์ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2558 กว่า 80 แห่ง ปัจจุบันยังใช้การได้ดี ชาวบ้านมีน้ำใช้ตลอด เป็นสิ่งยืนยันได้ชัดเจน” นายสังศิต กล่าวในที่สุด
ด้านนายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ วุฒิสมาชิก ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวเสริมว่ายุทธศาสตร์สงครามแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จ ระดับจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ‘เหมาะสมกับสถานการณ์ ผมเป็นคนจังหวัดแพร่ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ทราบดีว่าปัญหาแม่น้ำยมแห้ง แก้ปัญหาแบบเดิมมานาน จากการศึกษาดูงาน แกนซอยซีเมนต์หลายพื้นที่ แม้ในช่วงแล้งก็ยังไม่ขาดน้ำ’
นายสังศิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การศึกษาดูงานทั้งที่จังหวัดขอนแก่น แพร่ พะเยา และอีกหลายจังหวัด เราเข้าไปในหลายพื้นที่ ทั้งระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ตัวอย่างที่น่าสนใจ และประสบผลสำเร็จคือ การแก้ปัญหาแม่น้ำชีแห้งในพื้นที่ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท เขตติดต่ออำเภอมัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ในฤดูน้ำหลากมวลน้ำล้นลำน้ำชีขึ้นท่วมหมู่บ้าน ซึ่งมีประชากร 8 หมู่บ้าน 1039 ครัวเรือน อบต.ศรีบุญเรืองแก้ปัญหาภัยแล้งสำเร็จโดยการก่อสร้างฝายน้ำล้นแกนซอยซีเมนต์ขวางลำน้ำชีเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรอุปโภคและบริโภค
“ฝายแกนซอยซีเมนต์” เป็นนวัตกรรมเพื่อชะลอ กัก และเก็บน้ำ เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำธรรมชาติที่อยู่ใต้ดินจะซึมผ่านขึ้นมาตามธรรมชาติและถูกกักเก็บไว้ด้วยฝายซอยซีเมนต์ ปัจจุบันจังหวัดต่างๆ ใช้นวัตกรรมนี้แก้ปัญหาภัยแล้งได้กว่า 80 แห่งนับตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งยังใช้การอยู่ในปัจจุบัน ข้อดีของฝายแกนซอยซีเมนต์ คือ ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นสิ่งแปลกปลอมทางธรรมชาติ ใช้เงินน้อย แค่หลักหมื่นถึงหลักแสนบาท ขึ้นอยู่กับขนาดของฝาย สร้างได้เร็วทันใจ 2-5 วัน ได้น้ำใช้ภายใน 2-3 วัน
ในเชิงการบริหารจัดการ องค์กรปกครองท้องถิ่นคือ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรืองเป็นองค์กรนำในการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับชาวบ้าน ซึ่งจะต้องประสานหลายหน่วยงาน เช่น กรมเจ้าท่า กรมชลประทาน ซึ่งสามารถบูรณาการอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งทำให้ขั้นตอนการประสานระหว่างหน่วยงานด้วยกันเองยุติลงด้วยมติที่ประชุมให้สามารถก่อสร้างฝายซอยซีเมนต์เพื่อชะลอ กัก และเก็บน้ำในลำน้ำชี ที่จังหวัดแพร่ยังประสบกับแหล่งเก็บน้ำรั่วซึม แม่น้ำยมแห้ง บางช่วงบางตอนฝายชะลอน้ำเดิมชำรุด ต้องใช้งบประมาณสูง และล่าช้าในขั้นตอนการดำเนินงาน
นายสังศิตกล่าวว่า แพร่และพะเยามีปัญหาคล้ายคลึงกันคือ มีปริมาณน้ำฝนตกลงมามากทุกปี แต่ทั้งสองจังหวัดสามารถเก็บน้ำได้แค่ 10% ของปริมาณน้ำทั้งหมด การแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำของแพร่ เราควรทำฝายทุก 1-3 กม. เพื่อกักเก็บน้ำจากแม่นำ้ 13 สายที่ลงลุ่มนำ้ยมไว้ให้ได้มากที่สุด ส่วนพะเยาเราควรทำฝายกักเก็บน้ำจากแม่นำ้ 16 สายที่ไหลลงกว๊านพะเยา ทั้งเพื่อดักตะกอนและกักเก็บน้ำเอาไว้ สำหรับน้ำที่ไหลออกไปทางลำนำ้อิงตอนบนลงแม่น้ำโขงปีละกว่า 1,000 ล้าน ลบ.ม. ควรทำฝายกักเก็บน้ำไว้ไม่ให้นำ้ต้องสูญเปล่าไปเปล่าๆ รวมทั้งควรทำฝายกั้นลุ่มนำ้ยมที่ไหลจากพะเยาลงไปที่แพร่ เพื่อกักเก็บน้ำและช่วยป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมตั้งแต่แพร่เรื่อยลงมาจนถึงกรุงเทพฯ
Let's block ads! (Why?)
"เบ็ดเสร็จ" - Google News
July 31, 2020 at 02:32PM
https://ift.tt/2PctHhy
“สังศิต” เสนอ “สงครามเบ็ดเสร็จฯ จัดการน้ำแก้ปัญหาความยากจน” - ผู้จัดการออนไลน์
"เบ็ดเสร็จ" - Google News
https://ift.tt/3eIa4sb